วิธีการคำนวณสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคในโปรแกรม SPSS

สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’s Alpha) เป็นเครื่องมือทดสอบความน่าเชื่อถือของแบบสอบถามซึ่งพัฒนาโดย Cronbach (1951) โดยจะวัดว่ากลุ่มคำถามในแบบสอบถามนั้นทำงานร่วมกันอย่างไร ถ้าค่า Cronbach’s Alpha ได้สูง แสดงว่าคำถามในกลุ่มนั้นมีความสอดคล้องกันดี เช่น ตอบโน้มเอียงไปทางเดียวกัน ซึ่งช่วยยืนยันว่าแบบสอบถามนั้นเชื่อถือได้.

การวิเคราะห์ Cronbach’s Alpha มักจะเป็นการวิเคราะห์แรกที่เราทำเพื่อทดสอบว่าข้อคำถามในแบบสอบถามของเรามีความสัมพันธ์กันหรือไม่ ค่าสัมประสิทธิ์ของ Cronbach’s Alpha มีค่าตั้งแต่ 0 ถึง 1 โดยทั่วไปค่าที่ยอมรับได้คือมากกว่า 0.70

มีหลายวิธีในการทำการทดสอบค่าความเชื่อมั่น อย่างไรก็ตามในบทเรียนสถิตินี้ เราจะเน้นวิธีการคำนวณสัมประสิทธิ์ Cronbach’s Alpha ใน SPSS และวิธีการตีความค่าความเชื่อมั่น

สิ่งที่คุณจะเรียนรู้

หลังจากอ่านบทความนี้ เราจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับ

  • ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคคำนวณเพื่ออะไรและคำนวณอย่างไร
  • ช่วงคะแนนและการตีความค่าความเชื่อมั่นของ Alpha.
  • การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาทีละขั้นในโปรแกรม SPSS
  • การแปลความหมายค่าความเชื่อมั่นของสัมประสิทธิ์แอลฟาในโปรแกรม SPSS

คุณสามารถดาวน์โหลดไฟล์ตัวอย่างข้อมูล SPSS และฝึกฝนไปพร้อมๆ กันได้ค่ะ

ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคคำนวณเพื่ออะไรและคำนวณอย่างไร

Cronbach Alpha เป็นหนึ่งในการทดสอบค่าความเชื่อมั่นที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในการวัดความสอดคล้องภายในระหว่างคำถามแบบสเกลหรือคำถามที่มีสองคำตอบในแบบสอบถาม และมีการใช้งานอย่างกว้างขวางในวิทยาการองค์กรและสังคมศาสตร์

 สูตรการคำนวณค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค

a=\frac{N \cdot \bar{c}}{\bar{v}+(N-1) \cdot \bar{c}}

α  = แอลฟาครอนบาค

N = จำนวนรายการในกลุ่ม

= ความแปรปรวนร่วมเฉลี่ยระหว่างรายการที่จับคู่

 = ความแปรปรวนเฉลี่ย

หากต้องการอ่านที่มาของสูตรการคำนวณค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค แนะนำอ่านบทความนี้ค่ะ Cronbach’s alpha reliability: Interval estimation, hypothesis testing, and sample size planning ซึ่งเกี่ยวกับค่าความเชื่อมั่น ของ Cronbach’s alpha: การประมาณค่าช่วง, การทดสอบสมมติฐาน, และการวางแผนขนาดตัวอย่างโดย Bonett และ Wright (2015).

สังเกตเห็นได้ว่าเราพูดถึงคำว่า “Item” ซึ่งเมื่อเราพูดถึงคำว่า “item” เรากำลังหมายถึง คำถามที่เราตั้งใจจะวัดในแบบสอบถามนั่นเองค่ะ และตัวอย่างถัดไปจะเป็นตัวอย่างมาตรวัดของลิเคิร์ท

รายการไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง (Strongly Disagree)ไม่เห็นด้วย (Disagree)เฉยๆ
(Neutral)
เห็นด้วย
(Agree)
เห็นด้วยอย่างยิ่ง (Strongly Agree)
ฉันชอบซื้อสินค้าออนไลน์
(I like purchasing my groceries online)

ตัวอย่างมาตรวัดลิเคิร์ท

ตัวอย่างข้างต้นถูกวัด โดยใช้มาตรวัดของลิเคิร์ท ใช้วัดระดับความคิดเห็น 5 ระดับ (1 ถึง 5) 1 = ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง; 2 = ไม่เห็นด้วย; 3 = เฉยๆ; 4 = เห็นด้วย, and 5 = sเห็นด้วยอย่างยิ่ง.

ในแบบสอบถามเราอาจมีหลายรายการที่อธิบายตัวแปรมาตรวัด ในการวิจัยทางสถิติสิ่งที่สำคัญคือการพิสูจน์ว่าคำถามทั้งหมดมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันตามลำดับ คำถามมีความเกี่ยวข้องและค่าของคำถามต่างกันไปหรือไม่

ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’s Alpha) ใช้ค่าระหว่าง 0 ถึง 1 โดยทั่วไปค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคที่สูงกว่า 0.70 ถือว่าผ่านการทดสอบค่าความเชื่อมั่น เนื่องจากมีค่าเข้าใกล้ 1 เราสรุปแต่ละช่วงค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคและการแปลความหมาย ไว้ดังนี้

ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าการแปลความหมาย
𝞪 ≥ 0.90ดีมาก
𝞪 0.80 – 0.89ดี
𝞪 0.70 – 0.79พอใช้
𝞪 0.60 – 0.69ค่อนข้างพอใช้
𝞪 0.50 – 0.59ต่ำ
𝞪 < 0.50ไม่สามารถยอมรับได้
ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค

ที่สำคัญนะคะ เมื่อเราคำนวณค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เราไม่คำนวณโดยรวมคำถามทั้งหมดในครั้งเดียวกันแต่เราต้องคำนวณค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาแต่ละปัจจัย

สมมติว่า เราออกแบบแบบสอบถามเพื่อวัดความตั้งใจในการซื้อออนไลน์และแบบสอบถามประกอบด้วยตัวแปรสองระดับ ได้แก่ พฤติกรรมของผู้บริโภค (consumer behavior) และความตั้งใจในการซื้อ (purchase intention) โดยแต่ละตัวแปรใช้มาตรวัดลิเคิร์ท

ตัวอย่างการทดสอบค่าความเชื่อมั่นในโปรแกรม SPSS

สมมติว่า เราออกแบบแบบสอบถามเพื่อวัดความตั้งใจในการซื้อออนไลน์และแบบสอบถามประกอบด้วยตัวแปรสองระดับ ได้แก่ พฤติกรรมของผู้บริโภค (consumer behavior) และความตั้งใจในการซื้อ (purchase intention) โดยแต่ละตัวแปรใช้มาตรวัดลิเคิร์ท

เป้าหมายของเราคือการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ของพฤติกรรมผู้บริโภคและความตั้งใจในการซื้อ

เราดาวน์โหลดไฟล์ข้อมูลตัวอย่าง SPSS เพื่อใช้ในเป็นแบบฝึกฝน คลิกดาวน์โหลด โดยไฟล์ข้อมูลตัวอย่างเป็นเพียงแค่ข้อมูลใช้เพื่อการศึกษาเท่านั้น

แตกไฟล์ที่คุณดาวน์โหลดมา แล้วดับเบิลคลิกที่ไฟล์ .sav เพื่อนำเข้าข้อมูลไปยัง SPSS บนคอมพิวเตอร์ของคุณ และเรามาเริ่มการวิเคราะห์กันเลย

การคำนวณค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคในโปรแกรม SPSS

ไฟล์ตัวอย่าง SPSS ที่เราดาวน์โหลดจะมีชุดข้อมูลจำนวน 30 ตัวอย่าง ดังนี้:

ภาพรวมของตัวอย่างชุดข้อมูล SPSS ที่มา: uedufy.com
ภาพรวมของตัวอย่างชุดข้อมูล SPSS

เราจะเห็นว่ามีมาตรวัด ได้แก่ พฤติกรรมผู้บริโภค (CB) มีจำนวน 4 รายการ (CB1 ถึง CB4) และความตั้งใจในการซื้อ (PI) มีจำนวน 4 รายการเช่นกัน (PI1 ถึง PI4)

นอกจากนี้เราสามารถสังเกตได้ว่าในชุดข้อมูลทั้งหมดของเราถูกวัดมาตรวัดลิเคิร์ท 5 ระดับ โดยที่ 1 = ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง 2 = ไม่เห็นด้วย 3 = เป็นกลาง 4 = เห็นด้วย และ 5 = เห็นด้วยอย่างยิ่ง

ถึงแม้ว่าในอนาคตเราดำเนินการวิเคราะห์กับชุดข้อมูลที่มากกว่า 30 ตัวอย่าง เราใช้ขั้นตอนการวิเคราะห์เหมือนกัน

  1. ในเมนูด้านบนของ SPSS คลิกเลือก Analyze → Scale → Reliability Analysis
การคำนวณค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคในโปรแกรม SPSS ที่มา: uedufy.com
การคำนวณค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคในโปรแกรม SPSS
  1. ในหน้าต่าง SPSS Reliability Analysis เลือกรายการทั้งหมดที่เราต้องการวัดตัวแปร (เช่น พฤติกรรมผู้บริโภค) จากบล็อกด้านซ้าย โดยใช้ปุ่มลูกศรเพื่อเลื่อนไปด้านขวา
การเพิ่มรายการสำหรับการวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือที่มา: uedufy.com
การเพิ่มรายการสำหรับการวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือ
  1. เช็คฟังก์ชั่น Model เลือก Alpha
การตั้งค่าโมเดลสำหรับ Alpha ใน SPSS ที่มา: uedufy.com
การตั้งค่าโมเดลสำหรับ Alpha ใน SPSS
  1. พิมพ์ชื่อในช่อง Scale Label ซึ่งขั้นตอนนี้ไม่จำเป็นแต่สามารถช่วยในการแปลความหมายการวิเคราะห์ความเชื่อมั่น
การเพิ่มรายการเพื่อการวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือ ที่มา: uedufy.com
การเพิ่มรายการเพื่อการวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือ
  1. คลิก Statistics เพื่อเลือก option ก่อนการวิเคราะห์ความเชื่อมั่น
แทบสถิติในโปรแกรม SPSS เพื่อการวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือ ที่มา: uedufy.com
แทบสถิติในโปรแกรม SPSS เพื่อการวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือ

4. จากแท็บ Statistics ใน SPSS เลือกตัวเลือก Items, Scale, และ Scale of item deleted ในส่วนของ Descriptive ในส่วนของ Summarize เลือก Means และ Correlations ในฟังก์ชั่น  Inter-item เลือก Correlations คลิก Continue และ OK เพื่อดำเนินการวิเคราะห์ต่อ.

การกำหนดค่าการทดสอบอัลฟ่าในโปรแกรม SPSS ที่มา: uedufy.com
การกำหนดค่าการทดสอบอัลฟ่าในโปรแกรม SPSS

การอ่านและแปลความหมายค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค

  1. ตารางชื่อ Case Processing Summary  เป็นตารางแรกหลังจากประมวลผลซึ่งแสดงผลการวิเคราะห์โดยสรุป เราสังเกตได้ว่ามีตัวอย่างจำนวน 30 ตัวอย่าง (N = 30 samples) นอกจากนั้นสังเกต Valid = 100% หมายความว่าตัวอย่างทั้งหมดนำมาประมวลผลครบ อย่าลืมตรวจสอบจำนวนตัวอย่างทุกครั้งนะคะ บางครั้งในการดำเนินการประมวลผลอาจเกิดข้อผิดพลาดหรือพบค่าที่ขาดหายไป
การประมวลผลการทดสอบความน่าเชื่อถือในโปรแกรม SPSS ที่มา: uedufy.com
การประมวลผลการทดสอบความน่าเชื่อถือในโปรแกรม SPSS

ตาราง Reliability Statistics แสดงให้เราเห็นค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา โดยมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาเท่ากับ 0.904 (> 0.7) ซึ่งถือว่าดีมาก

สถิติความน่าเชื่อถือสำหรับการทดสอบความน่าเชื่อถือในโปรแกรม SPSS ที่มา: uedufy.com
สถิติความน่าเชื่อถือสำหรับการทดสอบความน่าเชื่อถือในโปรแกรม SPSS

สิ่งที่ควรทราบ หากเรามีรายการคำถามน้อยกว่า 10 คำถาม ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาอาจจะมีค่าไม่สูง ซึ่งในกรณีดังกล่าว หาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา  Alpha > 0.5 ถือว่ายอมรับได้ (Pallant, 2010) หาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาต่ำกว่า < 0.5 ถือว่าต่ำ

  1. ตาราง Item Statistics  แสดงผลเกี่ยวกับ ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Std. Deviation) และจำนวนตัวอย่าง (N) แต่ละรายการ โดยค่าเฉลี่ยใช้อธิบายเมื่อวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนาหรือความถี่ในการศึกษางานวิจัยของเรา
รายการทางสถิติสำหรับการทดสอบความน่าเชื่อถือในโปรแกรม SPSSที่มา: uedufy.com
รายการทางสถิติสำหรับการทดสอบความน่าเชื่อถือในโปรแกรม SPSS

ตาราง Inter-Item Correlation Matrix แสดงความสัมพันธ์ในแต่ละรายการ โดยค่าสูงสุดที่นี่คือ 1.000 เมื่อรายการมีความสัมพันธ์กับตัวเองในเมทริกซ์ หากค่าสหสัมพันธ์สูงแสดงให้เห็นว่ามีความสัมพันธ์ที่ชัดเจนระหว่างสองรายการ

ความสัมพันธ์สำหรับการทดสอบความน่าเชื่อถือในโปรแกรม SPSS ที่มา: uedufy.com
ความสัมพันธ์สำหรับการทดสอบความน่าเชื่อถือในโปรแกรม SPSS

ในตัวอย่างของเรา เราจะเห็นได้ว่ารายการ CB2 และ CB3 มีความสัมพันธ์กันสูง (0.937) ซึ่งบ่งชี้ถึงความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น ในทางตรงกันข้ามความสัมพันธ์ระหว่าง CB4 และ CB2 (0.543) ไม่แข็งแกร่งมาก

  1. ตาราง Summary Item Statistics แสดงให้เราเห็นค่าเฉลี่ยของรายการทั้งหมดในมาตราส่วนและความสัมพันธ์ระหว่างรายการ นอกจากนี้ยังแสดงค่าเฉลี่ยสูงสุดและต่ำสุด
สรุปการทดสอบความน่าเชื่อถือในโปรแกรม SPSS ที่มา: uedufy.com
สรุปการทดสอบความน่าเชื่อถือในโปรแกรม SPSS
  1. ตาราง Item Total Statistics แสดงค่าเฉลี่ยและความแปรปรวน หากรายการใดรายการหนึ่งถูกลบ แสดงค่า สหสัมพันธ์รวม สหสัมพันธ์พหุคูณ และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาหากรายการถูกลบ
รายการทางสถิติสำหรับการทดสอบความน่าเชื่อถือในโปรแกรม SPSS ที่มา: uedufy.com
รายการทางสถิติสำหรับการทดสอบความน่าเชื่อถือในโปรแกรม SPSS

มาดูคอลัมน์รายการที่ถูกแก้ไขกันค่ะ ในรายการ CB1 เท่ากับ (0.802) สัมพันธ์กับรายการ CB2, CB3, CB4; รายการ CB2 สัมพันธ์กับรายการ CB1, CB3 และ CB4; และอื่นๆ โดยเราดูว่าค่า > 0.40

ต่อไป วิเคราะห์คอลัมน์ Cronbach’s Alpha if Item Deleted  หากรายการถูกลบ ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาที่ได้จะมีค่าเท่าใด

  1. ตาราง Scale Statistics แสดงค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าความแปรปรวน (Variance) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Std. Deviation)
ผลการทดสอบความน่าเชื่อถือในโปรแกรม SPSS ที่มา: uedufy.com
ผลการทดสอบความน่าเชื่อถือในโปรแกรม SPSS

สรุป

การวิเคราะห์ความเชื่อมั่นมีความสำคัญมากในการวิจัยทางสถิติ หากค่า Alpha ของคุณสูงกว่า 0.70 คุณสามารถดำเนินการวิจัยต่อ ถ้าไม่ ให้ตรวจสอบสถิติรวมของรายการในส่วนที่กล่าวถึงข้างต้นเพื่อหาสาเหตุ

หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับทุกคนนะคะ ขอบคุณค่ะ

เอกสารอ้างอิง

Bonett, D. G., & Wright, T. A. (2015). Cronbach’s Alpha Reliability Interval Estimation, Hypothesis Testing, and Sample Size Planning.

Cronbach, L. J. (1951). Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika, 16, 297-334 (28,307 citations in Google Scholar as of 4/1/2016).

Pallant, Julie. SPSS Survival Manual: A Step by Step Guide to Data Analysis Using SPSS. Maidenhead: Open University Press/McGraw-Hill, 2010.